Category Archives: ถนนจันทน์
ถนนจันทน์
ถนนจันทน์ is the position for activity in post to be presented at the 1st rank on Google page search by address the focus keyword name in category.
ถนนจันทน์ เป็นถนนสายหลักเส้นหนึ่งในเขตสาทร
เขตสาทร Khet Sathon is one of 50 districts of กรุงเทพมหานคร Bangkok, Thailand.
บริษัท เอ็มเค เมทัลชีท โปรดักส์ จำกัด
MK Metalsheet Products Company Limited
เขตสาทร เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร เป็นเขตศูนย์กลางธุรกิจ การค้า การบริการ และการทูต[ต้องการอ้างอิง]
เนื้อหา
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
ตั้งอยู่บริเวณทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาหรือฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตบางรักและเขตปทุมวัน มีคลองสาทรและถนนพระรามที่ 4 ฝั่งใต้เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตคลองเตยและเขตยานนาวา มีแนวทางรถไฟแม่น้ำ ซอยเชื้อเพลิง 4 (ศรีรุ้ง) และถนนเย็นอากาศเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตยานนาวาและเขตบางคอแหลม มีถนนนางลิ้นจี่ ถนนจันทน์เก่า คลองช่องนนทรี ถนนจันทน์ ถนนสาธุประดิษฐ์ ซอยสาธุประดิษฐ์ 12 (ทวีสิทธิ์) ซอยจันทน์ 43 แยก 33 ซอยจันทน์ 43 (วัดไผ่เงิน) ซอยจันทน์ 43 แยก 14 (อยู่ดี) ซอยเจริญราษฎร์ 5 (อยู่ดี) ซอยเจริญราษฎร์ 8 (อยู่ดี) คูน้ำข้างซอยจันทน์ 34/2 และจันทน์ 49 และคลองกรวยเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตคลองสาน มีแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติศาสตร์[แก้]
พื้นที่เขตสาทรเดิมขึ้นอยู่กับอำเภอบ้านทะวาย จังหวัดพระประแดง ต่อมาอำเภอบ้านทะวายย้ายมาขึ้นกับจังหวัดพระนคร และเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอยานนาวาและเขตยานนาวา กรุงเทพมหานครในสมัยต่อมา
ภายหลังพื้นที่เขตยานนาวามีความเจริญและมีประชากรหนาแน่นขึ้น พื้นที่บางแห่งอยู่ไกลจากสำนักงานเขต กรุงเทพมหานครจึงได้รวมแขวงยานนาวา แขวงทุ่งวัดดอน และแขวงทุ่งมหาเมฆให้อยู่ในการดูแลของสำนักงานเขตยานนาวา สาขา 1 (แขวงยานนาวา) และท้องที่ดังกล่าวได้ยกฐานะเป็น เขตสาธร ในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตยานนาวา ตั้งเขตสาธรและเขตบางคอแหลม โดยนำชื่อคลองและถนนสาธรมาตั้งเป็นชื่อของเขตโดยอนุโลม
ต่อมาในวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2542 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย เปลี่ยนแปลงชื่อ “เขตสาธร” เป็น เขตสาทร เนื่องจากคำว่าสาธรไม่มีความหมายในพจนานุกรม ส่วนคำว่าสาทรมีความหมายว่า เอื้อเฟื้อ เอาใจใส่ และเพื่อเป็นการให้เกียรติแก่ “หลวงสาทรราชายุตก์ (ยม)” ขุนนางและคหบดีในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นผู้ขุดคลองอันเป็นที่มาของชื่อเขต ดังนั้นชื่อเขตสาธร คลองสาธร ถนนสาธรเหนือ ถนนสาธรใต้ และซอยย่อยของถนนสาธร จึงต้องเขียนเป็น “สาทร” ทั้งหมด[2]
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
เขตสาทรแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 3 แขวง ได้แก่
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2561) |
จำนวนบ้าน (ธันวาคม 2561) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2561) |
---|---|---|---|---|---|
แขวงทุ่งวัดดอน | Thung Wat Don |
3.195
|
38,841
|
17,785
|
12,156.80
|
แขวงยานนาวา | Yan Nawa |
2.090
|
20,463
|
10,489
|
9,790.90
|
แขวงทุ่งมหาเมฆ | Thung Maha Mek |
4.041
|
19,556
|
13,981
|
4,839.39
|
ทั้งหมด |
9.326
|
78,860
|
42,255
|
8,455.92
|
ประชากร[แก้]
[แสดง]สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตสาทร[3] |
---|
การคมนาคม[แก้]
ในพื้นที่เขตสาทรมีทางสายหลัก ได้แก่
- ถนนนราธิวาสราชนครินทร์
- ถนนพระรามที่ 4
- ถนนสาทรใต้
- ถนนเจริญกรุง
- ถนนเจริญราษฎร์
- ถนนจันทน์
- ถนนนางลิ้นจี่
- ทางพิเศษศรีรัช
- ทางพิเศษเฉลิมมหานคร
ส่วนทางสายรอง ได้แก่
- ถนนสวนพลู (สาทร 3)
- ถนนเย็นจิต
- ซอยเจริญกรุง 57 (ดอนกุศล)
- ซอยสาทร 1 (อรรถการประสิทธิ์)
- ซอยสาทร 11 / ซอยจันทน์ 18/7 (เซนต์หลุยส์ 3)
- ซอยงามดูพลี
- ซอยสุวรรณสวัสดิ์
และยังมีสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา 1 แห่ง คือ สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน