Category Archives: อำเภอเมืองนนทบุรี

อำเภอเมืองนนทบุรี

อำเภอเมืองนนทบุรี    is the position for activity in post to be presented at the first rank on Google page search by the focus keyword in category.

อำเภอเมืองนนทบุรี เป็นอำเภอศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา เศรษฐกิจ และการสาธารณสุขของจังหวัดนนทบุรี

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

อำเภอเมืองนนทบุรีตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังนี้[2]

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอปากเกร็ด มีคลองบางบัวทอง, คลองแม่ร่องกร่าง, คลองวัดแดง, แนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยา และคลองบางตลาดเป็นเส้นแบ่งเขต
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตหลักสี่และเขตจตุจักร (กรุงเทพมหานคร) มีคลองประปาเป็นเส้นแบ่งเขต
  • ทิศใต้ ติดต่อกับเขตบางซื่อ (กรุงเทพมหานคร) และอำเภอบางกรวย มีคลองบางเขน, แนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยา, คลองบางกรวย, คลองธรรมบาล, ถนนบางไผ่พัฒนา, ซอยบางไผ่ ซอย 3 (วัดรวกบางสีทอง), ซอยบางกรวย-ไทรน้อย 30 (วัดรวกบางสีทอง), คลองบางสีทอง, คลองวัดสนาม, ถนนบางศรีเมือง 1, แนวรั้วหมู่บ้านเยาวพรรณ, คลองวัดแดง และคลองบางกอกน้อยเป็นเส้นแบ่งเขต
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอบางใหญ่และอำเภอบางบัวทอง มีคลองวัดยุคันธราวาส, ถนนหลังวัดยุคันธราวาส, ซอยบางกร่าง 25 (หน้าค่าย), ทางหลวงท้องถิ่น นบ.ถ 1-0010 (โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการฯ-วัดสวนแก้ว), คลองวัดประชารังสรรค์, คลองอ้อม และคลองบางรักใหญ่เป็นเส้นแบ่งเขต

ประวัติศาสตร์[แก้]

อำเภอเมืองนนทบุรีในครั้งแรกนั้นมีชื่อว่า อำเภอตลาดขวัญ ไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่ามีฐานะเป็นอำเภอตั้งแต่เมื่อใด แต่ปรากฏชื่ออำเภอนี้ในชื่อเอกสารที่ประกาศลงราชกิจจานุเบกษาอย่างน้อยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2445 ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอนนทบุรี โดยปรากฏชื่อเอกสารเกี่ยวข้องกับชื่ออำเภอนี้ในราชกิจจานุเบกษาอย่างน้อยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2466 ที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่ในตัวอาคารศาลากลางเมืองนนทบุรี ข้างวัดท้ายเมือง ตำบลตลาดขวัญ[3] (ปัจจุบันอยู่ในเขตตำบลสวนใหญ่)

เนื่องจากอำเภอนนทบุรีมีอาณาเขตกว้างขวาง บางท้องที่อยู่ห่างไกลจากตัวอำเภอมาก กระทรวงนครบาล (หน่วยงานที่ดูแลหัวเมืองต่าง ๆ ในมณฑลกรุงเทพขณะนั้น) จึงพิจารณาโอนตำบลท่าอิฐซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือไปขึ้นกับอำเภอปากเกร็ดในปี พ.ศ. 2463[4] และโอนตำบลบางเลนซึ่งตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกสุดของอำเภอไปขึ้นกับอำเภอบางแม่นางในปี พ.ศ. 2464[5] ณ ปี พ.ศ. 2470 อำเภอนนทบุรีจึงเหลือท้องที่การปกครองอยู่ 12 ตำบล ได้แก่ ตำบลตลาดขวัญ ตำบลบางกระสอ ตำบลท่าทราย ตำบลลาดโตนด ตำบลบางเขน ตำบลบางตะนาวศรี (สวนใหญ่) ตำบลบางไผ่ ตำบลบางสีเมือง (บางศรีเมือง) ตำบลบางกร่าง ตำบลบางข่า ตำบลบางรักน้อย และตำบลไทรม้า[6]

ในวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2475 ทางราชการได้โอนพื้นที่ตำบลลาดโตนดซึ่งตั้งอยู่ทางฟากตะวันออกของคลองประปาไปขึ้นกับอำเภอบางเขน จังหวัดพระนคร เพื่อความสะดวกในการตรวจตราของเจ้าหน้าที่และความสะดวกในการติดต่อราชการของประชาชน[7] เท่ากับว่าแนวเขตการปกครองระหว่างจังหวัดทั้งสองได้เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย เนื่องจากแต่เดิมจังหวัดนนทบุรีมีอาณาเขตด้านตะวันออกติดต่อกับจังหวัดพระนครโดยใช้คลองเปรมประชากรตั้งแต่สี่แยกบางเขนขึ้นไปจนถึงคลองบ้านใหม่ตลาดเนื้อเป็นเส้นแบ่งเขต[8] ในช่วงนี้อำเภอนนทบุรีได้ย้ายที่ว่าการอำเภอมาอยู่ที่โรงเรียนราชวิทยาลัย บ้านบางขวาง ตำบลบางตะนาวศรีแล้ว (ปัจจุบันคือศาลากลางจังหวัดหลังเก่าบริเวณท่าน้ำนนทบุรี ตำบลสวนใหญ่) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2471[3]

ในวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 ได้มีพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่ออำเภอนนทบุรีเป็น อำเภอเมืองนนทบุรี[9] ทั้งนี้ เนื่องมาจากทางราชการมีนโยบายเปลี่ยนชื่ออำเภอที่เป็นที่ตั้งจังหวัดเป็น “อำเภอเมือง…” อย่างไรก็ตามในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2486 จังหวัดนนทบุรีก็ถูกยุบลงเพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณราชการ เนื่องจากขณะนั้นอยู่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ อำเภอเมืองนนทบุรีจึงย้ายไปขึ้นกับจังหวัดพระนครและได้มีพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่อเป็น “อำเภอนนทบุรี”[10] จนกระทั่งวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 ได้มีพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดนนทบุรีขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง[11] อำเภอนนทบุรีจึงเปลี่ยนชื่อกลับมาเป็น “อำเภอเมืองนนทบุรี”[12] ตั้งแต่นั้น

ตลอดเวลาที่ผ่านมาได้มีการปรับปรุงเขตการปกครองระดับตำบลภายในท้องที่อยู่เนือง ๆ เช่น ตำบลบางไผ่ถูกยุบรวมเข้ากับตำบลบางศรีเมือง ตำบลบางข่าถูกยุบรวมเข้ากับตำบลบางกร่าง เป็นต้น จนกระทั่งในวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยจัดตั้งตำบลขึ้นใหม่อีกครั้ง โดยแบ่งพื้นที่บางส่วนจากตำบลบางศรีเมืองมาจัดตั้งเป็นตำบลบางไผ่ และรวมพื้นที่บางส่วนจากตำบลไทรม้าและบางกร่างมาจัดตั้งเป็นตำบลบางรักน้อย มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน ปีเดียวกัน[13] อำเภอเมืองนนทบุรีจึงแบ่งออกเป็น 10 ตำบลจนถึงทุกวันนี้

เมื่อปี พ.ศ. 2535 ที่ว่าการอำเภอเมืองนนทบุรีได้ย้ายที่ตั้งอีกครั้งหนึ่งจากบริเวณโรงเรียนราชวิทยาลัยเดิม ไปอยู่ที่ศูนย์ราชการจังหวัดนนทบุรี ถนนรัตนาธิเบศร์ ใกล้สี่แยกแคราย หมู่ที่ 8 ตำบลบางกระสอ

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภอเมืองนนทบุรีแบ่งเขตการปกครองย่อยเป็น 10 ตำบล แต่ละตำบลแบ่งออกเป็นหมู่บ้าน รวมทั้งหมด 32 หมู่บ้าน (หรือ 26 หมู่บ้าน หากไม่นับรวมในเขตเทศบาลเมืองบางศรีเมืองซึ่งไม่มีตำแหน่งกำนันและผู้ใหญ่บ้านแล้ว) ได้แก่

1. สวนใหญ่ (Suan Yai) ยกเลิกระบบหมู่ 6. บางไผ่ (Bang Phai) 5 หมู่บ้าน
2. ตลาดขวัญ (Talat Khwan) ยกเลิกระบบหมู่ 7. บางศรีเมือง (Bang Si Mueang) 5 หมู่บ้าน
3. บางเขน (Bang Khen) ยกเลิกระบบหมู่ 8. บางกร่าง (Bang Krang) 10 หมู่บ้าน
4. บางกระสอ (Bang Kraso) ยกเลิกระบบหมู่ 9. ไทรม้า (Sai Ma) 6 หมู่บ้าน
5. ท่าทราย (Tha Sai) ยกเลิกระบบหมู่ 10. บางรักน้อย (Bang Rak Noi) 6 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่อำเภอเมืองนนทบุรีประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 6 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลนครนนทบุรี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลในอำเภอเมืองนนทบุรีฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ได้แก่ ตำบลสวนใหญ่ ตำบลตลาดขวัญ ตำบลบางเขน ตำบลบางกระสอ และตำบลท่าทรายทั้งตำบล
  • เทศบาลเมืองบางศรีเมือง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางศรีเมืองทั้งตำบลและตำบลบางกร่าง (เฉพาะหมู่ที่ 1 และบางส่วนของหมู่ที่ 2, 3, 9)
  • เทศบาลตำบลไทรม้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไทรม้าทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางไผ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางไผ่ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางกร่าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางกร่าง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลเมืองบางศรีเมือง)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางรักน้อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางรักน้อยทั้งตำบล

การคมนาคม[แก้]

ทางบก[แก้]

รถยนต์[แก้]

ถนนสายสำคัญของอำเภอ ได้แก่

  1. ถนนประชาราษฎร์ เริ่มตั้งแต่สี่แยกติวานนท์ ตัดผ่านสี่แยกศรีพรสวรรค์ สิ้นสุดที่บริเวณหอนาฬิกาท่าน้ำนนทบุรี
  2. ถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 301) เริ่มตั้งแต่สี่แยกติวานนท์ ตัดผ่านตำบลบางเขน เข้าสู่เขตบางซื่อ (กรุงเทพมหานคร) ตัดผ่านสี่แยกวงศ์สว่าง ไปสิ้นสุดที่สามแยกเตาปูน
  3. ถนนงามวงศ์วาน (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 302) เริ่มตั้งแต่สี่แยกแคราย สี่แยกพงษ์เพชร เข้าสู่เขตหลักสี่และเขตจตุจักร (กรุงเทพมหานคร) ผ่านสี่แยกบางเขน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ไปสิ้นสุดที่สี่แยกเกษตร
  4. ถนนรัตนาธิเบศร์ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 302) เริ่มตั้งแต่สี่แยกแคราย ผ่านศูนย์ราชการจังหวัด ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ตัดผ่านสี่แยกบางพลู (อำเภอบางบัวทอง) ไปสิ้นสุดที่ทางแยกต่างระดับบางใหญ่ (ถนนกาญจนาภิเษก)
  5. ถนนพิบูลสงคราม (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 306) เริ่มตั้งแต่สี่แยกศรีพรสวรรค์ ตัดผ่านตำบลสวนใหญ่ เข้าสู่เขตบางซื่อ ผ่านมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ สิ้นสุดที่สามแยกพิบูลสงคราม
  6. ถนนติวานนท์ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 306) เริ่มตั้งแต่สี่แยกติวานนท์ ผ่านสี่แยกแคราย ห้าแยกปากเกร็ด ท้องที่อำเภอปากเกร็ด เข้าสู่อำเภอเมืองปทุมธานี (จังหวัดปทุมธานี) ไปสิ้นสุดที่ถนนรังสิต-ปทุมธานี
  7. ถนนนนทบุรี 1 เริ่มตั้งแต่บริเวณใกล้ท่าน้ำนนทบุรี ผ่านเรือนจำจังหวัดนนทบุรี (บางขวาง) วัดท้ายเมือง โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า สิ้นสุดที่สี่แยกสะพานพระนั่งเกล้า (ถนนรัตนาธิเบศร์)
  8. ถนนสนามบินน้ำ เชื่อมระหว่างสี่แยกสะพานพระนั่งเกล้ากับสามแยกสนามบินน้ำ (ถนนติวานนท์)
  9. ถนนประชาชื่น เริ่มตั้งแต่สามแยกประชาชื่น เลียบคลองประปา ผ่านสี่แยกประชานุกูล (เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร) เข้าสู่อำเภอเมืองนนทบุรีที่ตำบลบางเขน ตัดผ่านสี่แยกพงษ์เพชร สามแยกสามัคคี-ประชาชื่น เข้าสู่อำเภอปากเกร็ด สิ้นสุดที่ถนนแจ้งวัฒนะ
  10. ถนนบางกรวย-ไทรน้อย (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3215) เริ่มตั้งแต่สะพานพระราม 7 ผ่านอำเภอบางกรวย เข้าสู่อำเภอเมืองนนทบุรีที่ตำบลบางกร่าง จากนั้นเข้าท้องที่อำเภอบางใหญ่ อำเภอบางบัวทอง และสิ้นสุดที่อำเภอไทรน้อย
  11. ถนนนครอินทร์ เริ่มตั้งแต่สี่แยกติวานนท์ ผ่านตำบลตลาดขวัญ ตำบลสวนใหญ่ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เข้าสู่ตำบลบางไผ่ ตำบลบางศรีเมือง จากนั้นเข้าสู่เขตอำเภอบางกรวย ตัดกับถนนราชพฤกษ์ ไปสิ้นสุดที่ทางแยกต่างระดับบางคูเวียง (ถนนกาญจนาภิเษก)
  12. ถนนราชพฤกษ์ เริ่มตั้งแต่ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน เขตธนบุรี (กรุงเทพมหานคร) เข้าสู่เขตจอมทอง ตัดผ่านถนนเพชรเกษมที่เขตภาษีเจริญ ตัดผ่านถนนบรมราชชนนีที่เขตตลิ่งชัน ตัดกับถนนนครอินทร์ที่อำเภอบางกรวย เข้าสู่อำเภอเมืองนนทบุรี ตัดผ่านถนนบางกรวย-ไทรน้อยและถนนรัตนาธิเบศร์ เข้าเขตอำเภอปากเกร็ด ไปสิ้นสุดที่ถนนบางบัวทอง-ปทุมธานี
  13. ถนนเลี่ยงเมืองนนทบุรี เริ่มตั้งแต่ถนนพิบูลสงครามใต้ตัวจังหวัดเก่า ตัดผ่านถนนประชาราษฎร์ที่ตำบลตลาดขวัญ อ้อมตัวจังหวัดเก่า ไปสิ้นสุดที่ถนนนนทบุรี 1 เหนือตัวจังหวัดเก่า
  14. ถนนเลี่ยงเมืองนนทบุรี-สนามบินน้ำ เริ่มตั้งแต่ถนนเลี่ยงเมืองนนทบุรีใกล้ตลาด อตก.3 เก่า ตัดผ่านถนนรัตนาธิเบศร์ที่ตำบลบางกระสอ ไปสิ้นสุดที่ถนนสนามบินน้ำที่ตำบลท่าทราย

ถนนสายรอง ได้แก่ ถนนเรวดี (ตำบลตลาดขวัญ) ถนนสามัคคี (ตำบลท่าทราย) ถนนบางศรีเมือง ถนนบางศรีเมือง-วัดโบสถ์ดอนพรหม (ตำบลบางศรีเมืองและตำบลบางกร่าง)

ปัจจุบัน อำเภอเมืองนนทบุรีมีทางพิเศษ 1 สาย คือ ทางพิเศษศรีรัช และมีสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา 4 แห่ง คือ สะพานพระนั่งเกล้า สะพานพระราม 5 สะพานคู่ขนานสะพานพระนั่งเกล้า และสะพานมหาเจษฎาบดินทรานุสรณ์

ทางน้ำ[แก้]

การสัญจรทางน้ำยังคงมีความสำคัญอยู่มากในอำเภอเมืองนนทบุรี โดยเฉพาะสำหรับผู้คนที่ต้องเดินทางในชั่วโมงเร่งด่วนและต้องการหลีกเลี่ยงการจราจรทางบกที่ติดขัด ปัจจุบันมีเส้นทางเดินเรือโดยสารในแม่น้ำเจ้าพระยา (เริ่มตั้งแต่อำเภอปากเกร็ด ผ่านอำเภอเมืองนนทบุรี ไปยังกรุงเทพมหานคร) และในคลองอ้อม

ท่าเรือด่วนเจ้าพระยา[แก้]

สถานที่สำคัญ[แก้]

 ตำบลไทรม้า หลังคา พียู ลายไม้

ทน. นนทบุรี แผ่นใส สีขาวขุ่น 

 ทม. บางกร่าง หลังคา แซนวิช พียูโฟม

ทม. บางศรีเมือง แผ่นกันสาดโปร่งแสง

ทม. ไทรม้า แพนเนล พียู ทำฝ้า-เพดาน ทำฝาผนัง-พาร์ติชั่น

 อบต. บางรักน้อย  แผ่นใส สีใสกระจก

อบต. บางไผ่ หลังคา พียู  โฟม

อบต. ขุนศรี แผ่นใส สีขาวขุ่น 

Call Now Button