Category Archives: อำเภอบางเลน
อำเภอบางเลน
อำเภอบางเลน is the position for activity in post to be presented at the first rank on Google page search by the focus keyword in category.
อำเภอบางเลน เป็นอำเภอที่มีขนาดพื้นที่มากที่สุดในจังหวัดนครปฐม
เนื้อหา
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
อำเภอบางเลนเป็นอำเภอที่อยู่ไกลจากที่ตั้งจังหวัดมากที่สุด โดยตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอสองพี่น้อง (จังหวัดสุพรรณบุรี) และอำเภอลาดบัวหลวง (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอลาดบัวหลวง (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) และอำเภอไทรน้อย (จังหวัดนนทบุรี)
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอพุทธมณฑลและอำเภอนครชัยศรี
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอดอนตูมและอำเภอกำแพงแสน
ประวัติศาสตร์[แก้]
อำเภอบางเลนตั้งขึ้นเป็นอำเภอเมื่อ พ.ศ. 2439 แต่ดั้งเดิมนั้นไม่ได้ตั้งอยู่บริเวณที่ว่าการอำเภอปัจจุบัน ที่ว่าการอำเภอเดิมตั้งอยู่ที่บ้านบางไผ่นารถ ใกล้บริเวณวัดบางไผ่นารถ ตำบลบางไทรป่า ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำท่าจีน ใช้ชื่อว่า อำเภอบางไผ่นารถ ต่อมาได้ย้ายที่ว่าการอำเภอไปตั้งอยู่ในเขตตำบลบางปลา ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำท่าจีน ใช้ชื่อว่า อำเภอบางปลา ภายหลังอำเภอบางปลาแบ่งการปกครองเป็น 2 ตำบล คือ ตำบลบางปลาและตำบลบางเลน
ในปี พ.ศ. 2479 ได้ย้ายที่ตั้งอำเภอมาที่ตำบลบางเลน (อยู่บริเวณตลาดเก่าในปัจจุบัน) ปี พ.ศ. 2482 จึงเปลี่ยนชื่ออำเภอบางปลาเป็น อำเภอบางเลน[1] ครั้นถึง พ.ศ. 2521 หลวงพ่อกิติวุฒโทแห่งจิตตภาวันวิทยาลัยซื่งเป็นชาวบางเลน ได้มอบที่ดินมรดกของท่านไห้ทางราชการและได้บริจาคเงินก่อสร้างที่ว่าการอำเภอ จึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอจากริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำท่าจีน มาตั้งอยู่ริมถนนพลดำริห์ ในท้องที่หมู่ที่ 8 ตำบลบางเลน จนกระทั่งปัจจุบัน โดยมีนายยุทธนา โพธิวิหค ดำรงตำแหน่งนายอำเภอบางเลนคนปัจจุบัน [2]
ส่วนนี้หลังตั้งแต่ พ.ศ. 2499 ถึงปัจจุบัน (รายปี)
- วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลขุนศรี แยกออกจากตำบลบางภาษี และตำบลลำพญา ตั้งตำบลดอนตูม แยกออกจากตำบลบางเลน และตำบลบางปลา ตั้งตำบลหินมูล แยกออกจากตำบลบางไทรป่า ตำบลดอนข่อย ตำบลบางเลน และตำบลบางหลวง ตั้งตำบลนราภิรมย์ แยกออกจากตำบลลำพญา และตำบลบางระกำ[3]
- วันที่ 18 กรกฎาคม 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลบางหลวง ในท้องที่บางส่วนของตำบลบางหลวง[4]
- วันที่ 17 มีนาคม 2502 จัดตั้งสุขาภิบาลบางเลน ในท้องที่บางส่วนของตำบลบางเลนและตำบลบางไทรป่า[5]
- วันที่ 2 พฤษภาคม 2502 ได้โอนพื้นที่ตำบลขุนศรี อำเภอบางเลน ไปขึ้นกับอำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี[6]
- วันที่ 9 กันยายน 2502 เปลี่ยนแปลงพื้นที่ ตำบลสระสี่มุม ตำบลกระตีบ และบางส่วนของตำบลดอนข่อย (หมู่ 1-4, 6-10 ในขณะนั้น) ของอำเภอบางเลน ไปขึ้นกับอำเภอกำแพงแสน[7]
- วันที่ 16 ธันวาคม 2502 เปลี่ยนแปลงพื้นที่ตำบลดอนข่อย โดยท้องที่หมู่ 5 (ในขณะนั้น) ของอำเภอกำแพงแสน มาขึ้นกับตำบลหินมูล อำเภอบางเลน[8]
- วันที่ 20 กรกฎาคม 2505 จัดตั้งสุขาภิบาลรางกระทุ่ม ในท้องที่บางส่วนของตำบลบางภาษี[9]
- วันที่ 20 กรกฎาคม 2505 จัดตั้งสุขาภิบาลลำพญา ในท้องที่บางส่วนของตำบลลำพญา[10]
- วันที่ 20 ธันวาคม 2505 ตั้งตำบลไทรงาม แยกออกจากตำบลบางไทรป่า[11]
- วันที่ 24 พฤศจิกายน 2507 ตั้งตำบลนิลเพชร แยกออกจากตำบลบัวปากท่า และ ตั้งตำบลคลองนกกระทุง แยกออกจากตำบลบางภาษี[12]
- วันที่ 1 กรกฎาคม 2520 ตั้งตำบลไผ่หูช้าง แยกออกจากตำบลหินมูล[13]
- วันที่ 21 กรกฎาคม 2526 ขยายเขตสุขาภิบาลบางเลนให้ครอบคลุมพื้นที่เพิ่มขึ้น[14]
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลบางเลน สุขาภิบาลบางหลวง สุขาภิบาลรางกระทุ่ม และสุขาภิบาลลำพญา เป็นเทศบาลตำบลบางเลน เทศบาลตำบลบางหลวง เทศบาลตำบลรางกระทุ่ม และเทศบาลตำบลลำพญาตามลำดับ
- วันที่ 15 กันยายน 2554 ได้แยกพื้นที่บางส่วนของหมู่ที่ 4, 5, 12 ตำบลบางภาษี ขององค์การบริหารส่วนตำบลบางภาษี ไปรวมกับท้องที่เทศบาลตำบลรางกระทุ่ม และพื้นที่บางส่วนของหมู่ที่ 6, 12 ตำบลบางภาษี ในเขตเทศบาลตำบลรางกระทุ่ม ไปรวมกับท้องที่องค์การบริหารส่วนตำบลบางภาษี[15] และเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลตำบลรางกระทุ่ม[16]
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]
อำเภอบางเลนแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 15 ตำบล 180 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | บางเลน | (Bang Len) | 12 หมู่บ้าน | 9. | ดอนตูม | (Don Tum) | 9 หมู่บ้าน | ||||||||
2. | บางปลา | (Bang Pla) | 13 หมู่บ้าน | 10. | นิลเพชร | (Ninlaphet) | 10 หมู่บ้าน | ||||||||
3. | บางหลวง | (Bang Luang) | 21 หมู่บ้าน | 11. | บัวปากท่า | (Bua Pak Tha) | 10 หมู่บ้าน | ||||||||
4. | บางภาษี | (Bang Phasi) | 13 หมู่บ้าน | 12. | คลองนกกระทุง | (Khlong Nok Krathung) | 11 หมู่บ้าน | ||||||||
5. | บางระกำ | (Bang Rakam) | 15 หมู่บ้าน | 13. | นราภิรมย์ | (Naraphirom) | 11 หมู่บ้าน | ||||||||
6. | บางไทรป่า | (Bang Sai Pa) | 10 หมู่บ้าน | 14. | ลำพญา | (Lam Phaya) | 11 หมู่บ้าน | ||||||||
7. | หินมูล | (Hin Mun) | 11 หมู่บ้าน | 15. | ไผ่หูช้าง | (Phai Hu Chang) | 7 หมู่บ้าน | ||||||||
8. | ไทรงาม | (Sai Ngam) | 11 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]
ท้องที่อำเภอบางเลนประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 19 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลบางเลน ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบางเลนและตำบลบางไทรป่า
- เทศบาลตำบลบางหลวง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบางหลวง
- เทศบาลตำบลรางกระทุ่ม ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบางภาษี
- เทศบาลตำบลลำพญา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางส่วนของตำบลลำพญา
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางเลน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางเลน (นอกเขตเทศบาลตำบลบางเลน)
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางปลา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางปลาทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางหลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางหลวง (นอกเขตเทศบาลตำบลบางหลวง)
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางภาษี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางภาษี (นอกเขตเทศบาลตำบลรางกระทุ่ม)
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางระกำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางระกำทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางไทรป่า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางไทรป่า (นอกเขตเทศบาลตำบลบางเลน)
- องค์การบริหารส่วนตำบลหินมูล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหินมูลทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลไทรงาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไทรงามทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลดอนตูม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดอนตูมทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลนิลเพชร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนิลเพชรทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบัวปากท่า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบัวปากท่าทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลคลองนกกระทุง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองนกกระทุงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลนราภิรมย์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนราภิรมย์ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลลำพญา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลำพญา (นอกเขตเทศบาลตำบลลำพญา)
- องค์การบริหารส่วนตำบลไผ่หูช้าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไผ่หูช้างทั้งตำบล