เขตสายไหม กดไลค์ให้เรา 113 เขตสายไหม กดไลค์ให้เรา 113 เ […]
Category Archives: กรุงเทพมหานคร
กรุงเทพมหานคร
กรุงเทพมหานคร is the position for activity in post to be presented at the first rank on Google page search by the focus keyword in category.
กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม. มีประชากรตามทะเบียนราษฎรกว่า 5 ล้านคน ทำให้กรุงเทพมหานครเป็นเอกนคร (Primate City) จัด มีผู้กล่าวว่า กรุงเทพมหานครเป็น “เอกนครที่สุดในโลก” เพราะมีประชากรมากกว่านครที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ถึง 40 เท่า[2]
ภูมิศาสตร์[แก้]
อาณาเขตติดต่อ[แก้]
กรุงเทพมหานครมีอาณาเขตทางบกติดต่อกับจังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดนครปฐม จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดฉะเชิงเทรา และจังหวัดสมุทรปราการ ส่วนอาณาเขตทางทะเลอ่าวไทยตอนใน ติดต่อจังหวัดเพชรบุรี จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดชลบุรี โดยมีรายละเอียดดังนี้
- ทิศเหนือ มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดนนทบุรีและจังหวัดปทุมธานี
- ทิศตะวันออก มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดฉะเชิงเทรา
- ทิศใต้ มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดสมุทรปราการและอ่าวไทย (ส่วนที่เป็นอ่าวไทยที่เป็นพื้นที่เดิมของจังหวัดธนบุรี ปัจจุบันคือเขตบางขุนเทียน ซึ่งมีอาณาเขตทางทะเลติดต่อทางอ่าวไทยกับจังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดชลบุรี และจังหวัดสมุทรปราการ จุดที่อยู่ใต้สุดอยู่ที่ละติจูด 13 องศา 13 ลิปดา 00 ฟิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา 27 ลิปดา 30 ฟิลิปดาตะวันออก ซึ่งเป็นการแบ่งตามพระราชบัญญัติกำหนดเขตจังหวัดในอ่าวไทยตอนใน พ.ศ. 2502)
- ทิศตะวันตก มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดสมุทรสาครและจังหวัดนครปฐม
ภูมิประเทศ[แก้]
กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ 1,568.7 ตร.กม. เป็นจังหวัด (โดยอนุโลม) ที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 68 ของไทย เป็นเมืองที่กว้างที่สุดของโลก[31] เป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 73 ของโลก[32] และเป็นเมืองหลวงที่มีพื้นที่กว้างเป็นอันดับ 4 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[33] ด้วยมีแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งทอดตัวยาว 372 กม. พาดผ่านพื้นที่ ทำให้กรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียงเป็นส่วนหนึ่งของที่ราบลุ่มภาคกลางตอนล่างของประเทศไทย ซึ่งเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก พื้นที่ส่วนมากในกรุงเทพมหานครเป็นที่ราบลุ่ม ตั้งอยู่บนพื้นที่บริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำซึ่งเกิดจากตะกอนน้ำพา มีระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 1.50-2 ม. โดยมีความลาดเอียงจากทิศเหนือสู่อ่าวไทยทางทิศใต้ และเฉพาะลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างจะอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลไม่เกิน 1.50 เมตร ทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมบ่อยครั้งในช่วงฤดูมรสุม
ภูมิอากาศ[แก้]
กรุงเทพมหานครตั้งอยู่ในเขตร้อน มีภูมิอากาศร้อนแบบทุ่งหญ้าสะวันนา (Aw) ตามเกณฑ์การแบ่งภูมิอากาศโลกของวลาดีมีร์ เคิปเปิน[34] คืออุณหภูมิเฉลี่ยในเดือนที่มีอุณหภูมิต่ำสุดสูงกว่า 18 องศาเซลเซียส มีอย่างน้อย 1 เดือนที่ปริมาณน้ำฝนต่ำกว่า 60 มิลลิเมตร และเดือนที่มีฝนตกน้อยที่สุดจะมีปริมาณน้ำฝนน้อยกว่า 100 ลบปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายปี หารด้วย 25[ต้องการอ้างอิง]
อากาศของกรุงเทพมหานครได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (กลางเดือนพฤษภาคม – เดือนตุลาคม) และมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ (เดือนพฤศจิกายน – กลางเดือนกุมภาพันธ์)[35] ทำให้มีฝนตกในช่วงบ่ายถึงค่ำอย่างสม่ำเสมอ และยังก่อให้เกิดร่องมรสุมพาดผ่านในเดือนพฤษภาคมกับเดือนกันยายนซึ่งทำให้มีฝนตกหนักกว่าปกติ แต่ในช่วงเดือนมิถุนายน – เดือนกรกฎาคม ร่องมรสุมนี้จะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านทางเหนือ[36] ทำให้ฝนตกน้อยลง เดือนพฤศจิกายน เมื่อซีกโลกเหนือหันออกจากดวงอาทิตย์ หย่อมความกดอากาศสูงจากจีนจะแผ่ลงมา มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งพัดเอาความแห้งแล้งและหนาวเย็นมาทำให้อากาศเย็นและแห้ง ท้องฟ้าแจ่มใส ไม่มีเมฆและฝนตกน้อย ครึ่งหลังของเดือนกุมภาพันธ์ มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจะอ่อนกำลังลง เป็นการเปลี่ยนเข้าสู่ฤดูร้อน อากาศจะร้อนขึ้นเรื่อย ๆ กระแสลมในช่วงนี้จะพัดมาจากทางใต้หรือตะวันออกเฉียงใต้ เรียกว่าลมตะเภา[37]
ในวันที่ 27 หรือ 28 เมษายน ของทุกปี ดวงอาทิตย์จะส่องตั้งฉากกับกรุงเทพมหานครพอดี ทำให้ได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์อย่างเต็มที่และมักคาดการณ์กันว่าเป็นวันที่อากาศร้อนที่สุดของปี[38] อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึกได้คือ 40.8 องศาเซลเซียส ที่ท่าอากาศยานดอนเมือง เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2526[39] ส่วนอุณหภูมิต่ำสุดที่เคยวัดได้คือ 9.9 องศาเซลเซียส ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2498[40]
[ซ่อน]ข้อมูลภูมิอากาศของกรุงเทพมหานคร (2504-2533) | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | 32.0 (89.6) |
32.7 (90.9) |
33.7 (92.7) |
34.9 (94.8) |
34.0 (93.2) |
33.1 (91.6) |
32.7 (90.9) |
32.5 (90.5) |
32.3 (90.1) |
32.0 (89.6) |
31.6 (88.9) |
31.3 (88.3) |
32.7 (90.9) |
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) | 25.9 (78.6) |
27.4 (81.3) |
28.7 (83.7) |
29.7 (85.5) |
29.2 (84.6) |
28.7 (83.7) |
28.3 (82.9) |
28.1 (82.6) |
27.8 (82) |
27.6 (81.7) |
26.9 (80.4) |
25.6 (78.1) |
27.8 (82) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | 21.0 (69.8) |
23.3 (73.9) |
24.9 (76.8) |
26.1 (79) |
25.6 (78.1) |
25.4 (77.7) |
25.0 (77) |
24.9 (76.8) |
24.6 (76.3) |
24.3 (75.7) |
23.1 (73.6) |
20.8 (69.4) |
24.1 (75.4) |
ปริมาณฝน มม (นิ้ว) | 9.1 (0.358) |
29.9 (1.177) |
28.6 (1.126) |
64.7 (2.547) |
220.4 (8.677) |
149.3 (5.878) |
154.5 (6.083) |
196.7 (7.744) |
344.2 (13.551) |
241.6 (9.512) |
48.1 (1.894) |
9.7 (0.382) |
1,496.8 (58.929) |
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย (≥ 1 mm) | 1 | 3 | 3 | 6 | 16 | 16 | 18 | 20 | 21 | 17 | 6 | 1 | 128 |
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด | 272.8 | 251.4 | 269.7 | 258.0 | 217.0 | 177.0 | 170.5 | 161.2 | 156.0 | 198.4 | 234.0 | 263.5 | 2,629.5 |
แหล่งที่มา1: กรมอุตุนิยมวิทยา[41] | |||||||||||||
แหล่งที่มา 2: หอสังเกตการณ์ฮ่องกง[42] |
การบริหาร[แก้]
ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528[43] กำหนดให้กรุงเทพมหานครมีสถานะเป็นนิติบุคคล และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ มีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มาจากการเลือกตั้งโดยตรง และเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารงาน อยู่ในตำแหน่งตามวาระคราวละสี่ปี นับแต่วันเลือกตั้ง แต่ต้องดำรงตำแหน่งไม่เกิน 2 วาระติดต่อกัน[44]โดยมีฝ่ายนิติบัญญัติ คือสภากรุงเทพมหานคร ที่ได้รับการเลือกตั้งจากชาวกรุงเทพมหานครเช่นกัน ดำเนินงานร่วมด้วย
พลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนปัจจุบัน โดยดำรงตำแหน่งในวันทื่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2559 รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 4 รายได้แก่ พล.อ.จีระศักดิ์ ชมประสพ นายสกลธี ภัททิยกุล นายศักดิ์ชัย บุญมา พล.ต.ท.โสภณ พิสุทธิวงษ์
นางศิลปสวย ระวีแสงสูรย์ เป็นปลัดกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 นาง วัลยา วัฒนรัตน์[45] เป็น รองปลัดกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2562
ผู้บัญชาการตำรวจนครบาลคนปัจจุบัน คือ พลตำรวจโท สุทธิพงษ์ วงษ์ปิ่น
มีที่ทำการตั้งอยู่ที่วังปารุสกวัน ทำหน้าที่ควบคุมดูแลเหตุอาชญากรรมการจราจรและงานปราบปรามยาเสพติดในกรุงเทพมหานคร
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
เขต[แก้]
รายชื่อเขต 50 เขตของกรุงเทพมหานคร
ประชากร[แก้]
สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร กรุงเทพมหานคร[46] |
|
---|---|
ปี (พ.ศ.) | ประชากร |
2550 | 5,716,248 |
2551 | 5,710,883 |
2552 | 5,702,595 |
2553 | 5,701,394 |
2554 | 5,674,843 |
2555 | 5,673,560 |
2556 | 5,686,252 |
2557 | 5,692,284 |
2558 | 5,696,409 |
2559 | 5,686,646 |
2560 | 5,682,415 |
ปี พ.ศ. 2558 เขตสายไหม เป็นเขตที่มีประชากรมากที่สุดในกรุงเทพมหานครแทนที่ เขตบางแค มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 197,715 ราย
ปี พ.ศ. 2554 กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีประชากรหนาแน่นอันดับที่ 13 ของโลก[47] ทั้งนี้ เนื่องจากประชากรในกรุงเทพมหานครนั้นมีทั้งที่เป็นแรงงานข้ามชาติ ประชาชนจากต่างจังหวัด ซึ่งไม่ได้ขึ้นทะเบียนราษฎรที่กรุงเทพมหานครจำนวนมาก
เศรษฐกิจ[แก้]
กรุงเทพมหานครมีรายได้หลักจากการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม[48]โดยในอดีตที่ผ่านมารายได้นี้มีมากกว่าเงินที่รัฐบาลสนับสนุน
กรุงเทพมหานครเป็นเมืองเศรษฐกิจหลักของประเทศไทย ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศร้อยละ 25 มาจากรุงเทพมหานคร[49] ซึ่งมาจากการค้าปลีกและค้าส่งมากที่สุด ร้อยละ 24.31 รองลงมาได้แก่ อุตสาหกรรมโรงงาน ร้อยละ 21.23 อุตสาหกรรมขนส่งและอุตสาหกรรมสื่อสาร ร้อยละ 13.89 โรงแรมและภัตตาคาร ร้อยละ 9.04
กรุงเทพมหานครยังเป็นอีกเมืองหนึ่งที่กลุ่มทุนข้ามชาติต้องการเข้ามาทำธุรกิจในกรุงเทพมหานครอย่างต่อเนื่อง โดยใน พ.ศ. 2529 บริษัทญี่ปุ่นต่าง ๆ ได้ดำเนินการอย่างจริงจังในการเคลื่อนไหวที่จะย้ายฐานการผลิตออกสู่ต่างประเทศ เป้าหมายหนึ่งคือ ที่กรุงเทพมหานคร[50]
จากการขยายธุรกิจของต่างชาติส่งผลให้มีการจ้างแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในกรุงเทพมหานครจำนวนมาก[51] ส่วนใหญ่มาจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งเป็นตัวเร่งให้เกิดปัญหาความแออัดในกรุงเทพมหานครมากขึ้น แรงงานต่างด้าวเหล่านี้ถูกยกเป็นข้อสนับสนุนและเป็นหลักฐานว่า กรุงเทพมหานครกำลังเผชิญกับภาวะการขาดแคลนแรงงานเพราะโครงสร้างประชากรในวัยทำงานลดน้อยลง[52]
การคมนาคมเข้าสู่กรุงเทพมหานครมีมากกว่าจังหวัดอื่น เช่น ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานดอนเมือง รวมถึงถนนในกรุงเทพมหานครที่มีจำนวนกว่า 250 สาย กรุงเทพมหานครเป็นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรม 4 แห่ง[53] ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง นิคมอุตสาหกรรมบางชัน นิคมอุตสาหกรรมอัญธานี โครงการ 2 และ นิคมอุตสาหกรรมอัญธานี
อนึ่ง เมื่อปี พ.ศ. 2552 เป็นปีแรกในรอบ 5 ปี ซึ่งโครงสร้างเศรษฐกิจของกรุงเทพมหานครหดตัวลง ยกเว้นภาคธนาคารและภาคบริหารของรัฐ[49] และในปี พ.ศ. 2557 อีโคโนมิสต์ อินเทลลิเจนซ์ ยูนิต (อีไอยู) หน่วยงานวิจัยในเครือ อีโคโนมิสต์ กรุ๊ป รายงานการจัดอันดับ เมืองที่มีค่าครองชีพสูงที่สุดในโลกประจำปี ผลปรากฏว่า กรุงเทพมหานครอยู่ในอันดับที่ 61[54]
ในปี พ.ศ. 2559 รายงานการศึกษาตลาดอสังหาริมทรัพย์ประเภทศูนย์การค้าจากบริษัทที่ปรึกษาและบริการด้านอสังหาริมทรัพย์ เจแอลแอล (โจนส์ แลง ลาซาลล์) เปิดเผยว่า กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีแบรนด์ระหว่างประเทศสนใจเข้ามาเปิดร้านจำหน่ายสินค้ามากที่สุดเป็นอันดับที่ 18 ของโลก[55]
เขตมีนบุรี MK Metalsheet 119 เขตมีนบุรี MK Metalsheet 1 […]
บางบอน ทำหลังคาห้องครัว บางบอน ทำหลังคาห้องครัว เอ็มเค […]
เขตคันนายาว MK Metalsheet 118 เขตคันนายาว MK Metalsheet […]
คลองสาน กดไลค์ให้เรา LK111 คลองสาน กดไลค์ให้เรา LK111 เ […]
MK Metalsheet หยุดฉลองปีใหม่ MK Metalsheet หยุดฉลองปีให […]
จอมทอง ทำหลังคาหน้าบ้าน จอมทอง ทำหลังคาหน้าบ้าน เอ็มเค […]
เขตสะพานสูง MK Metalsheet PK 117 เขตสะพานสูง MK Metalsh […]
ตลิ่งชัน กดไลค์ให้เรา LK110 ตลิ่งชัน กดไลค์ให้เรา LK110 […]
ธนบุรี ทำหลังคาหน้าบ้าน ธนบุรี ทำหลังคาหน้าบ้าน เอ็มเค […]