Category Archives: เขตคลองเตย
เขตคลองเตย
เขตคลองเตย is the position for activity in post to be presented at the 1st rank on Google page search by address the focus keyphrase name in category.
เขตคลองเตย Khet Khlong Toei is one of 50 districts of กรุงเทพมหานคร Bangkok, Thailand.
บริษัท เอ็มเค เมทัลชีท โปรดักส์ จำกัด
MK Metalsheet Products Company Limited
เขตคลองเตย เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร ถือเป็นเขตเศรษฐกิจใหม่และการพัฒนาตามแนววงแหวนอุตสาหกรรม
เนื้อหา
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
เขตคลองเตยตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ทางตอนกลางค่อนไปทางตะวันตกของฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อกับเขตต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้
- ทิศเหนือและทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตวัฒนา มีถนนสุขุมวิทฟากเหนือเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตพระโขนงและอำเภอพระประแดง (จังหวัดสมุทรปราการ) มีซอยสุขุมวิท 52 (ศิริพร), แนวเส้นตรงจากซอยสุขุมวิท 52 ไปบรรจบจุดกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยา และแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตยานนาวา เขตสาทร และเขตปทุมวัน มีทางรถไฟสายแม่น้ำเป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติ[แก้]
ย้อนไปถึงประมาณพุทธศตวรรษที่ 14 (คริสต์ศตวรรษที่ 9) บริเวณเขตคลองเตยเคยเป็นที่ตั้งของ เมืองปากน้ำพระประแดง เป็นเมืองหน้าด่านปากน้ำเจ้าพระยา ก่อนที่จะขึ้นไปสู่เมืองอื่น ๆ (อยู่ตรงข้ามกับเมือง (อำเภอ) พระประแดงในปัจจุบัน ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1)
เมื่อมีการจัดการปกครองส่วนภูมิภาคในสมัยรัชกาลที่ 5 บริเวณนี้จึงอยู่ในเขตการปกครองของ เมือง (จังหวัด) พระประแดง โดยมีฐานะเป็น ตำบลคลองเตย อำเภอพระโขนง ต่อมาอำเภอพระโขนงได้ย้ายมาขึ้นกับจังหวัดพระนคร และได้มีการยุบรวมจังหวัดธนบุรีกับจังหวัดพระนคร เปลี่ยนฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรีและกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้เปลี่ยนการเรียกหน่วยการปกครองใหม่ด้วย ตำบลคลองเตยจึงเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น แขวงคลองเตย เป็นพื้นที่การปกครองของสำนักงานเขตพระโขนง
ภายหลังเขตพระโขนงมีความเจริญและมีประชากรหนาแน่นขึ้น พื้นที่บางแห่งอยู่ไกลจากสำนักงานเขต ในวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2532 กรุงเทพมหานครจึงได้จัดตั้งสำนักงานเขตพระโขนง สาขา 1 (คลองเตย) ขึ้นดูแลแขวงคลองเตย แขวงคลองตัน และแขวงพระโขนง และในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 กระทรวงมหาดไทยได้แบ่งพื้นที่ 3 แขวงดังกล่าวตั้งเป็น เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร
จนกระทั่งในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2538 กรุงเทพมหานครได้จัดตั้งแขวงคลองเตยเหนือ แขวงคลองตันเหนือ และแขวงพระโขนงเหนือ โดยใช้ถนนสุขุมวิทเป็นเส้นแบ่งเขตออกจากแขวงเดิม และให้สำนักงานเขตคลองเตย สาขา 1 ดูแลพื้นที่แขวงใหม่ดังกล่าวซึ่งต่อมาได้แยกออกไปเป็นเขตวัฒนาในปี พ.ศ. 2540
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
เขตคลองเตยมีหน่วยการปกครองย่อย 3 แขวง ได้แก่
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2561) |
จำนวนบ้าน (ธันวาคม 2561) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2561) |
---|---|---|---|---|---|
คลองเตย | Khlong Toei |
7.249
|
67,346
|
33,423
|
9,290.38
|
คลองตัน | Khlong Tan |
1.901
|
11,101
|
14,323
|
5,839.55
|
พระโขนง | Phra Khanong |
3.850
|
23,096
|
24,434
|
5,998.96
|
ทั้งหมด |
13.000
|
101,543
|
72,180
|
7,811.00
|
ประชากร[แก้]
[แสดง]สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตคลองเตย[2] |
---|
สถานที่สำคัญ[แก้]
- การไฟฟ้านครหลวง สำนักงานใหญ่
- สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (เอกมัย)
- ท่าเรือกรุงเทพ
- ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
- อุทยานเบญจสิริ
- สวนเบญจกิติ
- สยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์
- การท่าเรือแห่งประเทศไทย
- กรมศุลกากร
- สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3
- โรงเรียนปทุมคงคา
- โรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์
- โรงเรียนศรีวิกรม์
- โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ฯ
- แพตสเตเดียม สโมสรฟุตบอลการท่าเรือแห่งประเทศไทย
- ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ
- ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาแห่งชาติ
- มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตกล้วยน้ำไท
- วัดคลองเตยใน
- วัดคลองเตยนอก
- วัดสะพาน
- ตำหนักปลายเนิน
การคมนาคม[แก้]
ทางบก[แก้]
- ถนนพระรามที่ 4
- ถนนสุขุมวิท
- ถนนสุนทรโกษา
- ถนนอาจณรงค์
- ถนนทางรถไฟสายเก่าปากน้ำ
- ถนนเกษมราษฎร์
- ถนนรัชดาภิเษก
- ถนนพระรามที่ 3
- ทางพิเศษเฉลิมมหานคร
- ทางพิเศษฉลองรัช
ทางน้ำ[แก้]
ระบบขนส่งมวลชน[แก้]
- สถานีคลองเตย บริเวณถนนพระรามที่ 4 ด้านหน้าสำนักงานการไฟฟ้านครหลวงเขตคลองเตย บริเวณทิศตะวันออกของจุดตัดทางรถไฟสายแม่น้ำ และทางขึ้น-ลงทางพิเศษเฉลิมมหานคร (ทางด่วนขั้นที่ 1) ซึ่งเป็นจุดบรรจบถนนพระรามที่ 4, ถนนเชื้อเพลิง และถนนดวงพิทักษ์
- สถานีศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ บริเวณถนนรัชดาภิเษก-พระรามที่ 4 ด้านหน้าศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ บริเวณทิศเหนือของสี่แยกพระรามที่ 4 จุดบรรจบของถนนรัชดาภิเษก ถนนพระรามที่ 4 และถนนพระรามที่ 3
เศรษฐกิจชุมชน[แก้]
ที่ชุมชนเกาะกลางน้ำ เขตคลองเตย ผู้ที่อาศัยอยู่ยังชุมชนนี้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ด้วยการปลูกผักและเพาะเห็ดหลายชนิด เช่น เห็ดนางฟ้า, เห็ดนางฟ้าภูฏาน, เห็ดเป๋าฮื้อ, เห็ดหูหนู[3]
เขตคลองเตย MK Metalsheet PK115 เขตคลองเตย MK Metalsheet […]